วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ระบบเครือข่ายไร้สาย (4122102)

1. ระบบเครือข่ายไร้สาย คืออะไร อธิบายภาพโดยรวมระบบเครือข่ายไร้สายระบบเครือข่ายไร้สาย
(Wireless LAN : WLAN) หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้นระบบเครือข่ายไร้สายใช้แม่เหล็กไฟฟ้าผ่านอากาศ เพื่อรับส่งข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่าย โดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้อาจเป็นคลื่นวิทย (Radio) หรืออินฟาเรด (Infrared) ก็ได้ การสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สายมีมาตราฐาน IEEE802.11 เป็นมาตราฐานกำหนดรูปแบบการสื่อสาร ซึ่งมาตราฐานแต่ละตัวจะบอกถึงความเร็วและคลื่นความถี่สัญญาณที่แตกต่างกันในการสื่อสารข้อมูล เช่น 802.11b และ 802.11g ที่ความเร็ว 11 Mbps และ 54 Mbps ตามลำดับ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาได้จาก มาตราฐาน IEEE802.11 และขอบเขตของสัญญาณคลอบคุลพื้นที่ประมาณ 100 เมตร ในพื้นที่โปรง และประมาณ 30 เมตร ในอาคาร ซึ่งระยะทางของสัญญาณมีผลกระทบจากสิ่งรอบข้างหลายๆ อย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ ความหนาของกำแพง เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ รวมถึงร่างกายมนุษย์ด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อการใช้งานเครือข่ายไร้สายทั้งสิ้น การเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายมี 2 รูปแบบ คือแบบ Ad-Hoc และ Infrastructure รายละเอียดเพิ่มเติมศึกษาได้จาก รูปแบบเครือข่ายไร้สาย การใช้งานเครือข่ายไร้สายของผู้ใช้บริการทั่วไปจะเป็นแบบ Infrastructure คือมีอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (Access Point) ของผู้ให้บริการเป็นผู้ติดตั้งและกระจายสัญญาณ ให้ผู้ใช้ทำการเชื่อมต่อ โดยผู้ใช้บริการจะต้องมีอุปกรณ์รับส่งสัญญาณขอเรียกว่า "การ์ดแลนไร้สาย" เป็นอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้ไป Access Point ของผู้ให้บริการ สรุปการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายเป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย เหมือนกับระบบแลน (LAN) มีสายปกติ แตกต่างที่อุปกรณ์ทางกายภาพในการเชื่อมต่อเครือข่ายไม่ต้องใช้สายสัญญาณแต่อย่างใด โดยการใช้งานเครือข่ายไร้สายสามารถใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เหมือนเครือข่ายมีสายได้ปกติ เว้นแต่ว่าผู้ดูแลระบบเครือข่ายนั้นๆ จะปิดบริการบางบริการเพื่อความปลอดภัยของเครือข่ายได้เช่นกัน ซึ่งการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายช่วยให้การเชื่อมต่อง่ายขึ้น ประหยัดค่าสายสัญญาณ และใช้งานได้ทุกที่ที่สัญญาณเครือข่ายไร้สายไปถึง...
2. จงอธิบายรายละเอียดของมาตรฐาน IEEE802.11g
• มาตรฐาน IEEE802.11g มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานใหม่ที่ความถี่ 2.4 GHz โดยสามารถรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 36 -54 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่ามาตรฐาน 802.11b ซึ่ง 802.11g สามารถปรับระดับความเร็วในการสื่อสารลงเหลือ 2 Mbps ได้ (ตามสภาพแวดล้อมของเครือข่ายที่ใช้งาน) มาตราฐานนี้เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้เป็นจำนวนมากและกำลังจะเข้ามาแทนที่ 802.11b ในอนาคตอันใกล้ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีบางผลิตภัณฑ์ใช้เทคโนโลยีเฉพาะตัวเข้ามาเสริมทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 54 Mbps เป็น 108 Mbps แต่ต้องทำงานร่วมกันเฉพาะอุปกรณ์ที่ผลิตจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ซึ่งความสามารถนี้เกิดจากชิป (Chip) กระจายสัญญาณของตัวอุปกรณ์ที่ผู้ผลิตบางรายสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งสัญญาณเป็น 2 เท่าของการรับส่งสัญญาณได้ แต่ปัญหาของการกระจายสัญญาณนี้จะมีผลทำให้อุปกรณ์ไร้สายในมาตราฐาน 802.11b มีประสิทธิภาพลดลงด้วยเช่นกัน ด้านล่างเป็นตารางมาตราฐาน IEEE802.11 ของเครือข่ายไร้สาย
3. จงเปรียบเทียบเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน IEEE802.11a และ IEEE802.11b
มาตราฐาน IEEE802.11Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) เป็นสถาบันที่กำหนดมาตรฐานการทำงานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้กำหนดมาตรฐานสำหรับเครือข่ายไร้สายขึ้น คือมาตรฐาน IEEE802.11a, b, และ g ตามลำดับขึ้น ซึ่งแต่ละมาตราฐานมีความเร็วและคลื่นความถี่สัญญาณที่แตกต่างกันในการสื่อสารข้อมูล มีรายละเอียดดังนี้
• มาตราฐาน IEEE802.11a เป็นมาตรฐานระบบเครือข่ายไร้สายที่มีประสิทธิภาพสูง ทำงานที่ย่านความถี่ 5 GHz มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 54 Mbps ที่ความเร็วนี้สามารถทำการแพร่ภาพและข่าวสารที่ต้องการความละเอียดสูงได้ อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสามารถปรับระดับให้ช้าลงได้ เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้มากขึ้น เช่น 54, 48, 36, 24 และ 11 เมกกะบิตเป็นต้น ในขณะที่คลื่นความถี่ 5 GHz นี้ยังไม่ได้ใช้งานอย่างแพร่หลาย ดังนั้นปัญหาการรบกวนคลื่นความถี่จึงมีน้อย ต่างจากคลื่นความถี่ 2.4 GHz ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทำให้สัญญาณของคลื่นความถี่ 2.4 GHz ถูกรบกวนจากอุปกรณ์ประเภทอื่นที่ใช้คลื่นความถี่เดียวกันได้ ระยะทางการเชื่อมต่อประมาณ 300 ฟิตจากจุดกระจายสัญญาณ Access Point หากเทียบกับมาตรฐาน 802.11b แล้ว ระยะทางจะได้น้อยกว่า 802.11b ที่คลื่นความถี่ต่ำกว่า และทั้ง 2 มาตรฐานนี้ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ขณะที่ประเทศไทยไม่อนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 5 GHz จึงไม่เห็นอุปกรณ์ WLAN มาตรฐาน 802.11a จำหน่ายในประเทศไทย แต่ความเร็ว 54 Mbps สามารถใช้งานได้ที่มาตรฐาน 802.11b ที่จะกล่าวถึงต่อไป
• มาตรฐาน IEEE802.11b 802.11b เป็นมาตราฐานที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งต่างประเทศและในประเทศไทย เป็นมาตรฐาน WLAN ที่ทำงานที่คลื่นความถี่ 2.4 GHz (คลื่นความถี่นี้สามารถใช้งานในประเทศไทยได้) มีความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 11 Mbps ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายภายใต้มาตราฐานนี้ถูกผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญแต่ละผลิตภัณฑ์มีความสามารถทำงานร่วมกันได้ อุปกรณ์ของผู้ผลิตทุกยี่ห้อต้องผ่านการตรวจสอบจากสถาบัน Wi-Fi Alliance เพื่อตรวจสอบมาตรฐานของอุปกรณ์และความเข้ากันได้ของแต่ละผู้ผลิต ปัจจุบันนี้นิยมนำอุปกรณ์ WLAN ที่มาตรฐาน 802.11b ไปใช้ในองค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษา สถานที่สาธารณะ และกำลังแพร่เข้าสู่สถานที่พักอาศัยมากขึ้น มาตรฐานนี้มีระบบเข้ารหัสข้อมูลแบบ WEP ที่ 128 บิต
4. ISM band คืออะไร จงอธิบาย
ISM ย่อมาจาก Industrial Sciences Medicine หรือคลื่นความถี่สาธารณะสำหรับอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และการแพทย์ โดยย่านความถี่สำหรับคลื่นวิทยุในโลกนี้ จัดได้ว่ามีการควบคุมการเป็นเจ้าของหรือใช้งาน ซึ่งงานวิจัยสำหรับการขอคลื่นความถี่มาใช้งานทำได้ค่อนข้างยาก จึงมีการตั้ง ISM band นี้ขึ้นมาสำหรับการวิจัยโดยเฉพาะ โดยแบ่งเป็นสามย่านความถี่ คือ 900 เมกะเฮิรตซ์, 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และ 5.7 กิกะเฮิรตซ์ สำหรับ Wireless Network 802.11 จะใช้สองย่านความถี่หลัง แต่เนื่องจากความถี่ 5.7 กิกะเฮิรตซ์ นั้น มีการยอมให้ใช้ได้เฉพาะบางประเทศเท่านั้น (ส่วนที่เหลืออาจจะถูกจัดสรรไปให้กับองค์กรต่างๆ ก่อนจะมีการประกาศ ISM Band ออกมา) ทำให้มาตรฐาน a ไม่สามารถใช้งานได้ในประเทศบางประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย เราจึงใช้งานได้เฉพาะ 802.11b และ g เท่านั้น (การพัฒนามาตรฐาน g ก็มาจากเหตุผลนี้เช่นกัน)
5. Architecture (Topology โทโพโลยี) ของ WLAN มีอะไรบ้างอธิบาย
ประเภทการเชื่อมต่อ
การเชื่อมระบบ WLAN มักจะเชื่อมกันกันในบริเวณใกล้ๆ หรือ อาคารเดียวกันมีการเชื่อมอยู่ 5 ประเภท
1. Peer-to-peer (ad hoc mode)Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย
2. Client/server (Infrastructure mode)ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย
3. Multiple access points and roamingการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง
4. Use of an Extension Point กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย
5. The Use of Directional Antennasระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณระหว่างอาคารที่อยู่ห่างกัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน

6. จงอธิบายความหมายของ BSS , ESS , Access point ถึงหน้าที่และส่วนที่เกี่ยวข้อง
1. Basic Service Set (BSS)Basic Service Set (BSS) หมายถึงบริเวณของเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN ที่มีสถานีแม่ข่าย 1 สถานี ซึ่งสถานีผู้ใช้ภายในขอบเขตของ BSS นี้ทุกสถานีจะต้องสื่อสารข้อมูลผ่านสถานีแม่ข่ายดังกล่าวเท่านั้น
2. Extended Service Set (ESS)Extended Service Set (ESS) หมายถึงบริเวณของเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN ที่ประกอบด้วย BSS มากกว่า 1 BSS ซึ่งได้รับการเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน สถานีผู้ใช้สามารถเคลื่อนย้ายจาก BSS หนึ่งไปอยู่ในอีก BSS หนึ่งได้โดย BSS เหล่านี้จะทำการ Roaming หรือติดต่อสื่อสารกันเพื่อทำการโอนย้ายการให้บริการสำหรับสถานีผู้ใช้ดังกล่าว
3. Access point คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับ switching hub ของระบบเครือข่ายปกติ โดย Access Point ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลทางคลื่นความถี่กับ Wireless Card ซึ่งติดตั้งบนเครื่องของผู้ใช้แต่ละคน

ROUTER (เครือข่ายคอมพิวเตอร์ฯ 4122102)

1. Router คืออะไร
ความหมายของ Router อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการ ทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มากโดยเราท์เตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่าง แต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง และเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. อธิบายการทำงานของ Router
การทำงานของ RouterRouter หน้าที่หลักของคือ การอ้างอิงไอพีแอดเดรสระหว่างเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่าย รวมที่ทั้งการเลือกและจัดเส้นทางที่ดีที่สุด เพื่อนำข้อมูลข่าวสาร ในรูปแบบของแพ็กเกจจากเครื่องลูกข่ายต้นทางบนเครือข่ายที่ตนดูแลอยู่ไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่กันคนละเครือข่ายหน้าที่ของเราเตอร์คือ จัดแบ่งเครือข่ายและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมเพื่อนำส่งแพ็กเก็ต เราเตอร์จะป้องกันการบรอดคาสต์แพ็กเก็ตจากเครือข่ายหนึ่งไม่ให้ข้ามมายังอีกเครือข่ายหนึ่ง เมื่อเราเตอร์รับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทางแล้ว จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทาง ที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อออกช่องทางของ Port WAN ที่เป็นแบบจุดไปจุดก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่าย WAN ได้
3. Routing Protocol คืออะไร
Routing Protocol : โปรโตคอลเลือกเส้นทางRouting Protocol คือโพรโทคอลที่ใช้ในการแลกเปลี่ยน routing table ระหว่างอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆที่ทำงานในระดับ Network Layer (Layer 3) เช่น Router เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถส่งข้อมูล (IP packet) ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยที่ผู้ดูแลเครือข่ายไม่ต้องแก้ไขข้อมูล routing table ของอุปกรณ์ต่างๆตลอดเวลา เรียกว่าการทำงานของ Routing Protocol ทำให้เกิดการใช้งาน dynamic routing ต่อระบบเครือข่าย
4. อธิบายการเลือกเส้นทางแบบ static และ dynamic
การเลือกเส้นทางแบบ Static Routeการเลือกเส้นทางแบบ Static นี้ การกำหนดเส้นทางการคำนวณเส้นทางทั้งหมด กระทำโดยผู้บริหารจัดการเครือข่าย ค่าที่ถูกป้อนเข้าไปในตารางเลือกเส้นทางนี้มีค่าที่ตายตัว ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆ บนเครือข่าย จะต้องให้ผู้บริหารจัดการดูแล เครือข่าย เข้ามาจัดการทั้งสิ้นอย่างไรก็ดีการใช้ วิธีการทาง Static เช่นนี้ มีประโยชน์เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังนี้- เหมาะสาหรับเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก- เพื่อผลแห่งการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เนื่องจากสามารถแน่ใจว่า ข้อมูลข่าวสารจะต้องวิ่งไปบนเส้นทางที่กำหนดไว้ให้ ตายตัว- ไม่ต้องใช้ Software เลือกเส้นทางใดๆทั้งสิ้น- ช่วยประหยัดการใช้ แบนวิดท์ของเครือข่ายลงได้มาก เนื่องจากไม่มีปัญหาการ Broadcast หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง Router ที่มาจากการใช้โปรโตคอลเลือกเส้นทางการเลือกเส้นทางแบบ Dynamic Routeการเลือกเส้นทางแบบ Dynamic นี้ เป็นการใช้ ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งมากับ Router เพื่อทำหน้าที่แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการเลือกเส้นทางระหว่าง Router โดยที่เราเรียกว่า โปรโตคอลเลือกเส้นทาง (Routing Protocol) ข้อดีของการใช้ Routing Protocol ได้แก่ การที่ Router สามารถใช้ Routing Protocol นี้เพื่อการสร้างตารางเลือกเส้นทางจากสภาวะของเครือข่ายในขณะนั้นประโยชน์ของการใช้ Routing Protocol มีดังนี้- เหมาะสาหรับเครือข่ายขนาดใหญ่- Router สามารถจัดการหาเส้นทางเองหากมีการเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายเกิดขึ้นข้อแตกต่างระหว่าง Static Route กับ DynamicStatic Route- ไม่เพิ่มการทางานของ Router ในการ Update Routing Table ทาให้ Bandwidth ก็ไม่เพิ่มขึ้น- มีความปลอดภัยมากกว่า Dynamic Route เพราะ Dynamic Route เมื่อมีใครมาเชื่อมต่ออุปกรณ์ก็สามารถจะใช้งานได้เลย ไม่ตรงผ่านผู้ดูแลระบบ- Static Route จะใช้ในการสร้างเส้นทางสารองมากกว่าการสร้างเส้นทางหลักDynamic Route- ไม่ต้องทา Routing entry ทุก Subnet Address ที่ต้องการให้มองเห็น- สามารถตรวจสอบสถานะของ Link ได้ เช่น การ Down ลงไปของ Link
5. อธิบายการเลือกเส้นทางแบบ Link State และ Distance Vector
Link-state Routing Protocol ลักษณะกลไกการทำงานแบบ Link-state routing protocol คือตัว Router จะ Broadcast ข้อมูลการเชื่อมต่อของเครือข่ายตนเองไปให้ Router อื่นๆทราบ ข้อมูลนี้เรียกว่า Link-state ซึ่งเกิดจากการคำนวณ Router ที่จะคำนวณค่าในการเชื่อมต่อโดยพิจารณา Router ของตนเองเป็นหลักในการสร้าง routing table ขึ้นมา ดังนั้นข้อมูล Link-state ที่ส่งออกไปในเครือข่ายของแต่ละ Router จะเป็นข้อมูลที่บอกว่า Router นั้นๆมีการเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายใดอย่างไร และเส้นทางการส่งที่ดีที่สุดของตนเองเป็นอย่างไร โดยไม่สนใจ Router อื่น และกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงภายในเครือข่าย เช่น มีบางวงจรเชื่อมโยงล่มไปที่จะมีการส่งข้อมูลเฉพาะที่มีการเปลี่ยนแปลงไปให้ ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่มากตัวอย่างโปรโตคอลที่ใช้กลไกแบบ Link-state ได้แก่ โปรโตคอล OSPF (Open Shortest Path First) สำหรับ Interior routing protocol นี้บางแห่งก็เรียกว่า Intradomain routing protocolDistance-vector Routing Protocol ลักษณะที่สำคัญของการติดต่อแบบ Distance-vector คือ ในแต่ละ Router จะมีข้อมูล routing table เอาไว้พิจารณาเส้นทางการส่งข้อมูล โดยพิจารณาจากระยะทางที่ข้อมูลจะไปถึงปลายทางเป็นหลัก ดังรูปจากรูป Router A จะทราบว่าถ้าต้องการส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายไปยังเครื่องที่อยู่ใน Network B แล้วนั้น ข้อมูลจะข้าม Router ไป 1 ครั้ง หรือเรียกว่า 1 hop ในขณะที่ส่งข้อมูลไปยังเครื่องใน Network C ข้อมูลจะต้องข้ามเครือข่ายผ่าน Router A ไปยัง Router B เสียก่อน ทำให้การเดินทางของข้อมูลผ่านเป็น 2 hop อย่างไรก็ตามที่ Router B จะมองเห็น Network B และ Network C อยู่ห่างออกไปโดยการส่งข้อมูล 1 hop และ Network A เป็น2 hop ดังนั้น Router A และ Router B จะมองเห็นภาพของเครือข่ายที่เชื่อมต่ออยู่แตกต่างกันเป็นตารางข้อมูล routing table ของตนเอง จากรูปการส่งข้อมูลตามลักษณะของ Distance-vector routing protocol จะเลือกหาเส้นทางที่ดีที่สุดและมีการคำนวณตาม routing algorithm เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ออกมา ซึ่งมักจะเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดและมีจำนวน hop น้อยกว่า โดยอุปกรณ์ Router ที่เชื่อมต่อกันมักจะมีการปรับปรุงข้อมูลใน routing table อยู่เป็นระยะๆ ด้วยการ Broadcast ข้อมูลทั้งหมดใน routing table ไปในเครือข่ายตามระยะเวลาที่ตั้งเอาไว้ การใช้งานแบบ Distance-vector เหมาะกับเครือข่ายที่มีขนาดไม่ใหญ่มากและมีการเชื่อมต่อที่ไม่ซับซ้อนเกินไป ตัวอย่างโปรโตคอลที่ทำงานเป็นแบบ Distance-vector ได้แก่ โปรโตคอล RIP (Routing Information Protocol) และโปรโตคอล IGRP (Interior Gateway Routing Protocol) เป็นต้น
6. อธิบายการทำงานของ Routing Information Protocol (RIP)
Routing Information Protocol (RIP)เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางประเภท Distance Vector ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายขนาด เล็กไปจนถึงขนาดกลาง เป็นโปรโตคอลเลือกเส้นทางมาตรฐานที่ไม่ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรายใด มี RIP Version 1 ที่ได้รับมาตรฐาน RFC 1058 เป็นโปรโตคอลที่เรียบง่าย อีกทั้งยังง่ายต่อการจัดตั้งคุณลักษณะการทำงานของ RIP- RIP อาศัย ค่าของจำนวน Hop เป็นหลัก เพื่อการเลือกเส้นทาง โดยจำกัดที่ไม่เกิน 15 Hop- RIP จะส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทางออกไปทุก 30 วินาที- การส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงตารางเส้นทาง เป็นการส่งออกไปทั้งหมดของตารางทั้งที่เป็นของเก่าและของใหม่- การส่งข่าวสารเกี่ยวกับการปรับปรุงเส้นทาง จะเกิดขึ้นกับ Router ที่เชื่อมต่อกันโดยตรงเท่านั้น
7. อธิบายหลักการทำงานของ Open Shortest Path First (OSPE)
ระบบ OSPF จะแบ่งเราเตอร์ออกเป็นเขตย่อยๆ หรือพื้นที่ย่อยๆ ที่มีความสำพันธ์กันหรือใช้โพรโตคอลที่ใช้ ในการติดต่อต่างกันและจะเลือกเราเตอร์ขึ้นมาอย่างน้อยหนึ่งตัวที่ใช้ติดต่อระหว่างแต่ละพื้นที่ เรียกว่า เราเตอร์ตัวแทนหรือเราเตอร์ชายแดนและจะมีพื้นที่พิเศษในระบบออโตโนมัสซึ่งทำหน้าที่เป็นเสมือนศูนย์กลางของระบบ เรียกว่า Backbone พื้นที่อื่นๆจะต้องมีจุดเชื่อมต่อเข้ากับ Backbone เสมอ และ backbone จะมีหมายเลขพื้นที่เท่ากับ 0 เสมอ การหาระยะทางของเราเตอร์จะส่งแพ็กเก็ตที่เรียกว่า Hello Packet ไปยังเราเตอร์อื่นๆแบบ Floding เมื่อเราเตอร์อื่นได้รับจะต้องตอบกลับแพ็กเก็ตทันทีและแต่ละเราเตอร์ก็จะสร้างตารางระยะทางไปยังเราเตอร์อื่นๆจากข้อมูลที่ได้รับ โดยใช้เราเตอร์ของตัวเองเป็นรากหรืออาจจะคำนวณระยะทางระหว่างเราเตอร์โดยมี ค่าน้ำหนัก ที่คำนวณได้มาจากระยะทาง เวลาการรอคอย และองค์ประกอบอื่นๆที่ต้องการ โดยการพิจารณาการรอคอยนั้นจะมีการส่งแพ็กเก็ตพิเศษ (Echo Packet) ที่กำหนดให้เราเตอร์ที่ได้รับต้องส่งนี้กลับทันทีทำให้ทราบเวลาการรอคอยที่แน่ชัด และคำนวณหาระยะทางที่สั้นที่สุด ในการติดต่อระหว่างพื้นที่อื่นๆจะมีตัวแทนจะเป็นตัวติดต่อและจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการติดต่อสื่อสารกันตลอดเวลาที่กำหนดไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างพื้นที่หรือนอกพื้นที่

วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บริดจ์ (Bridge) เราเตอร์ (Router) และสวิตช์ (Switch)




เมื่อต้องการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ หลาย เครือข่ายเข้าด้วยกัน จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ประกอบที่ทำให้การรับส่งข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ เชื่อมโยงถึง โดยทั่วไปเรามักใช้ระบบ การรับส่งข้อมูลเป็นชุดเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "แพ็กเก็ต" (Packet) ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต สามารถเคลื่อนที่จากต้นทางไปยังปลายทางได้ โดยผ่านอุปกรณ์เลือกเส้นทาง การเลือกเส้นทางสามารถเลือกผ่านทั้งทางด้านเครือข่าย LAN และ WAN โดยปกติมีการกำหนดแอดเดรสของตัวรับและตัวส่ง ดังนั้น จึงต้องมีแอดเดรสปรากฎอยู่ในแพ็คเก็ต อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายทุกหน่วยจึงมีแอดเดรสกำกับแอดเดรสหรือตำแหน่งที่อยู่มีรูปแบบที่ชัดเจน ได้รับการกำหนดเป็นมาตรฐาน เช่น แอดเดรสที่ใช้ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ใช้รหัสตัวเลข 32 บิต ที่เรียกว่า "ไอพีแอดเดรส" (IP Address) แพ็กเก็ตข้อมูลทุกแพ็กเก็ตจึงมีข้อมูลที่บ่งบอกว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาจากที่ใด และ ปลายทางอยู่ที่ใด การเลือกเส้นทาง..จึงขึ้นอยู่กับแอดเดรสที่กำหนดในแพ็กเก็ต เมื่อแพ็กเก็ตข้อมูลผ่านมายังอุปกรณ์ต่าง ๆ อุปกรณ์เหล่านั้นจะตรวจสอบดูว่า แอดเดรสต้นทางและ ปลายทางอยู่ที่ใด จะส่งผ่านแพ็กเก็ตนั้นไปยังเส้นทางใด เพื่อให้ถึงจุดหมายตามต้องการ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย และทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายมีหลายประเภทด้วยกัน อุปกรณ์แต่ละชนิดมีขีดความสามารถแตกต่างกันออกไป อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายหลักทั้ง LAN และ WAN ประกอบด้วย บริดจ์ (Bridge) เราเตอร์ (Router) และสวิตช์ (Switch)

บริดจ์ (Bridge)
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน แต่เดิมบริดจ์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน เช่น ใช้เชื่อมโยงระหว่างอีเทอร์เน็ตกับ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) บริดจ์มีใช้มานานแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 บริดจ์จึงเป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย การติดต่อภายในเครือข่ายเดียวกันมีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) ดังนั้น จึงกระจายได้เฉพาะเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือข่าย บริดจ์จะนำข้อมูลเฉพาะแพ็กเก็ตนั้นส่งให้ บริดจ์จึงเป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูล ระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่าย ของตน ไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ในระยะหลังมีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้ เช่น อีเทอร์เน็ตกับโทเก็นริง เป็นต้น หากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายมากกว่าสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน และเครือข่ายที่เชื่อมมีลักษณะหลากหลาย ซึ่งเป็นทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเชื่อมโยงคือ เราเตอร์ (Router)

เราเตอร์ (Router)
เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทาง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ หากเส้นทาง ที่ส่งมาจากอีเทอร์เน็ต และส่งต่อออกช่องทางของ Port WAN ที่เป็นแบบจุดไปจุด ก็จะมีการปรับปรุงรูปแบบสัญญาณให้เข้ากับมาตรฐานใหม่ เพื่อส่งไปยังเครือข่าย WAN ได้
ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ได้รับการพัฒนาไปมากทำให้การใช้งานเราเตอร์มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อเชื่อมอุปกรณ์เราเตอร์หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเตอร์สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการหาเส้นทางเดินที่สั้นที่สุด เลือกตามความเหมาะสมและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเองได้
เมื่อเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้รับการพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการทำงานได้เร็วขึ้น จึงมีผู้พัฒนาอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ต หรือเรียกว่า "สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล" (Data Switched Packet) โดยลดระยะเวลาการตรวจสอบแอดเดรสลงไป การคัดแยกจะกระทำในระดับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ เชิงความเร็วและความแม่นยำสูงสุด อุปกรณ์สวิตช์ข้อมูลจึงมีเวลาหน่วงภายในตัวสวิตช์ต่ำมาก จึงสามารถนำมาประยุกต์กับงานที่ต้องการเวลาจริง เช่น การส่งสัญญาณเสียง วิดีโอ ได้ดี
สวิตช์ (Switch)
อุปกรณ์สวิตช์มีหลายแบบ หากแบ่งกลุ่มข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเล็ก ๆ และเรียกใหม่ว่า "เซล" (Cell) กลายเป็น "เซลสวิตช์" (Cell Switch) หรือที่รู้จักกันในนาม "เอทีเอ็มสวิตช์" (ATM Switch) ถ้าสวิตช์ข้อมูลในระดับเฟรมของอีเทอร์เน็ต ก็เรียกว่า "อีเทอร์เน็ตสวิตช์" (Ethernet Switch) และถ้าสวิตช์ตามมาตรฐานเฟรมข้อมูลที่เป็นกลาง และ สามารถนำข้อมูลอื่นมาประกอบภายในได้ก็เรียกว่า "เฟรมรีเลย์" (Frame Relay)
อุปกรณ์สวิตชิ่งจึงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ และมีแนวโน้มที่จะพัฒนาให้ใช้กับความเร็วของการรับส่งข้อมูลจำนวนมาก เช่น เฟรมรีเลย์ (Frame Relay) และเอทีเอ็ม สวิตช์ (ATM Switch) สามารถสวิตช์ข้อมูลขนาดหลายร้อยล้านบิตต่อวินาทีได้ เทคโนโลยีนี้จึงเป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยม
การออกแบบและจัดรูปแบบเครือข่ายองค์กรที่เป็น "อินทราเน็ต" ซึ่งเชื่อมโยงได้ทั้งระบบ LAN และ WAN จึงต้องอาศัยอุปกรณ์เชื่อมโยงต่าง ๆ เหล่านี้ อุปกรณ์เชื่อมโยง ทั้งหมดนี้รองรับมาตรฐานการเชื่อมต่อได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จากเครือข่ายพื้นฐานเป็นอีเทอร์เน็ต ก็สามารถเชื่อมเข้าสู่ ATM Switch, Frame Relay, or Bridge, Router ได้ ทำให้ขนาดของเครือข่ายมีขนาดใหญ่ขึ้น

เกตเวย์ (Gateway)


เกตเวย์เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC) เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช (MAC) เป็นต้น

เราท์เตอร์

เราท์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการ ทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเราท์เตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่าง แต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การคอนฟิกเราเตอร์ Cisco ขั้นพื้นฐาน


การเชื่อมต่อแบบ Point to Point โดยมีจำนวน Site เป็น 2 sites ทำ Routing เป็นแบบ Static และ encapsulation เป็น pppสมมุติว่าเรามีจำนวน site เป็น 2 site และมีการเชื่อมต่อดังรูปที่ 1 โดยกำหนดค่า ip เป็นดังนี้
-Wan IP : เป็น 192.168.0.0/30 นั่นคือจะมี ip ในกลุ่มนี้ทั้งหมดเป็น 4 ip คือ 192.168.0.0 - 192.168.0.3 แต่ไอพี 192.168.0.0 เป็น network ip และ ไอพี 192.168.0.3 เป็น broadcast ip ซึ่งนำมาใช้งานปกติไม่ได้ จึงเหลือไอพีที่ใช้งานทั่วไปได้ 2 ip คือ 192.168.0.1 ซึ่งกำหนดให้เป็นไอพีของ serial port (s0) ของ router A และอีกไอพีคือ 192.168.0.2 ซึ่งกำหนดให้เป็นไอพีของ serial port (s0) ของ router B ดังรูปที่ 1
-Lan IP ด้าน A : ในที่นี้กำหนดเป็น 192.168.11.0/24 นั่นคือจะมีไอพีใช้งานเป็นหนึ่ง class c คือ 254 ip (ไม่นับ network ip และ broadcast ip) คือ 192.168.11.1 - 192.168.11.254 โดยในที่นี้กำหนดให้ไอพี 192.168.11.1 เป็นไอพีของ ethernet port (e0) ของ router A และไอพีสำหรับเครื่องพีซีกำหนดให้ใช้ตั้งแต่ 192.168.11.11 เป็นต้นไป ดังรูปที่ 1
-Lan IP ด้าน B : ในที่นี้กำหนดเป็น 192.168.12.0/24 นั่นคือจะมีไอพีใช้งานเป็นหนึ่ง class c เช่นกัน คือ 254 ip (ไม่นับ network ip และ broadcast ip) คือ 192.168.12.1 - 192.168.12.254 โดยในที่นี้กำหนดให้ไอพี 192.168.12.1 เป็นไอพีของ ethernet port (e0) ของ router B และไอพีสำหรับเครื่องพีซีกำหนดให้ใช้ตั้งแต่ 192.168.12.11 เป็นต้นไป ดังรูปที่ 1

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2552

well know port (Datacomm)

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ Port
สำหรับพวก Application ในชั้น layer สูงๆ ที่ใช้ TCP (Transmission Control Protocol) หรือ UDP (User Datagram Protocol) จะมีหมายเลข Port หมายเลขของ Port จะเป็นเลข 16 bit เริ่มตั้งแต่ 0 ถึง 65535 หมายเลข Port ใช้สำหรับตัดสินว่า service ใดที่ต้องการเรียกใช้ ในทางทฤษฎี หมายเลข Port แต่ละหมายเลขถูกเลือกสำหรับ service ใดๆ ขึ้นอยู่กับ OS (operating system) ที่ใช้ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน แต่ได้มีกำหนดขึ้นให้ใช้ค่อนข้างเป็นมาตรฐานเพื่อให้มีการติดต่อการส่งข้อมูลที่ดีขึ้น ทาง Internet Assigned Numbers Authority (IANA) เป็นหน่วยงานกลางในการประสานการเลือกใช้ Port ว่า Port หมายเลขใดควรเหมาะสำหรับ Service ใด และได้กำหนดใน Request For Comments (RFC') 1700 ตัวอย่างเช่น เลือกใช้ TCP Port หมายเลข 23 กับ Service Telnet และเลือกใช้ UDP Port หมายเลข 69 สำหรับ Service Trivial File transfer Protocol (TFTP) ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นบางส่วนของ File/etc/services แสดงให้เห็นว่า หมายเลข Port แต่ละหมายเลขได้ถูกจับคู่กับ Transport Protocol หนึ่งหรือสอง Protocol ซึ่งหมายความว่า UPP หรือ TCP อาจจะใช้ หมายเลข Port เดียวกันก็ได้ เนื่องจากเป็น Protocol ที่ต่างกันหมายเลข Port ถูกจัดแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามที่ได้กำหนดใน RFC' 1700 คือ well known Ports และ Registered Ports- Well Known Ports คือจะเป็น Port ที่ระบบส่วนใหญ่ กำหนดให้ใช้โดย Privileged User (ผู้ใช้ที่มีสิทธิพิเศษ) โดย port เหล่านี้ ใช้สำหรับการติดต่อระหว่างเครื่องที่มีระบบเวลาที่ยาวนาน วัตถุประสงค์เพื่อให้ service แก่ผู้ใช้ (ที่ไม่รู้จักหรือคุ้นเคย) แปลกหน้า จึงจำเป็นต้องกำหนด Port ติดต่อสำหรับ Service นั้นๆ- Registered Ports จะเป็น Port หมายเลข 1024 ขึ้นไป ซึ่ง IANA ไม่ได้กำหนดไว้ตัวอย่างการใช้ Portแต่ละ Transport layer segment จะมีส่วนย่อยที่ประกอบไปด้วยหมายเลข Port ของเครื่องปลายทาง โดยที่เครื่องปลายทาง (Destination hostt) จะใช้ Port นี้ในการส่งข้อมูลให้ไหลกับ Application ได้ถูกต้อง หน้าที่ในการส่งหรือแจกจ่าย Segment ของข้อมูลให้ตรงกับ Application เรียกว่าการ "Demultiplexing" ในทางกลับกันเครื่องต้นทาง (Source host) หน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลจาก Application และเพิ่ม header เพื่อสร้าง segment เรียกว่า "Multiplexing" หรือถ้ายกตัวอย่างเป็นภาษาทั่วๆ ไป คือ ในแต่ละบ้านจะมีคน 1 คนรับผิดชอบเก็บจดหมายจากกล่องจดหมาย ถ้าเป็นการ Demultiplexing คนๆ นั้นจะแจกจ่ายจดหมายที่จ่าหน้าซองให้สอดคล้องกับบุคคลนั้นๆ ในบ้าน ในทางตรงกันข้าม ถ้าเป็นการ Multiplexing คนๆ นั้นก็จะรวบรวมจดหมายจากสมาชิกในบ้านและทำหน้าที่ส่งออกไป Demultiplexing ตามหมายเลข Port จะอยู่ใน 32 bit แรกของ TCP และ UDP header โดยที่ 16 bit แรกเป็นหมายเลข Port ของเครื่องต้นทาง ขณะที่ 16 bit ต่อมาเป็นหมายเลข Port ของ เครื่องปลายทางTCP หรือ UDP จะดูที่ข้อมูลหมายเลข Port ใน header เพื่อพิจารณาว่า Application ใดที่ต้องการข้อมูลนั้นๆ หมายเลข Port ทั้งต้นทางและปลายทางจำเป็นต้องมีเพื่อให้ เครื่องปลายทางมีความสามารถที่จะรัน process มากกว่า 1 process ในเวลาเดียวกันตามที่ได้กล่าวในข้างต้น "Well know Ports" เป็น Port ที่ค่อนข้างมาตรฐาน ทำให้เครื่องที่อยู่ไกลออกไป (Remote Computer) สามารถรู้ได้ว่าจะติดต่อกับทาง Port หมายเลขอะไรสำหรับ Service เฉพาะนั้นๆ อย่างไรก็ตามยังมี Port อีกประเภทที่เรียกว่า Dynamically Allocated Port ซึ่ง Port ประเภทนี้ไม่ได้ถูก assign ไว้แต่เดิม แต่จะถูก assign เมื่อจำเป็น Port ประเภทนี้ให้ความสะดวกและความคล่องตัวสำหรับระบบที่มีผู้ใช้หลายๆคนพร้อมๆคน ระบบจะต้องให้ความมั่นใจว่าจะไม่ assign หมายเลข Port ซ้ำกันยกตัวอย่าง สมมติว่ามีผู้ใช้ต้องการใช้ Service Telnet ทางเครื่องต้นทางจะทำการ assign ให้ หมายเลข Dynamic Port (เช่น 3044) โดยที่หมายเลข Port ปลายทางคือ 23 เครื่องจะ assign หมายเลข Port ปลายทางเป็น23 เพราะว่า เป็น Well Known Port สำหรับ Service Telnet จากนั้นเครื่องปลายทางจะทำการตอบรับกลับโดยใช้ Port หมายเลข 23 เป็นหมายเลขต้นทาง และ หมายเลข Port 3044 เป็นหมายเลข ปลายทางกลุ่มของหมายเลข Port และ หมายเลข IP เราเรียกว่า Socket ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ที่เฉพาะเจาะจงสำหรับ Network process หนึ่งเดียวที่มีอยู่ในทั้งระบบ Internet คู่ของ Socket ที่ประกอบด้วย Socket หนึ่งตัว สำหรับต้นทาง และอีกตัว สำหรับปลายทาง สามารถใช้บรรยายถึงคุณลักษณะของ Connection oriented protocols ถ้าผู้ใช้คนที่ 2 ต้องการใช้ Service Telnet จากเครื่องปลายทางเครื่องเดียวกัน ผู้ใช้นั้นก็จะได้รับการ assign หมายเลข Port ต้นทางที่แตกต่างกันออกไป โดยมีหมายเลข Port ปลายทางเหมือนกันกับผู้ใช้คนแรกดังรูปที่ 4 จะเห็นได้ว่าการจับคู่ของหมายเลข Port และหมายเลข IP ทั้งต้นทางและปลายทางสามารถทำให้แยกความแตกต่างของ Internet connection ระหว่างเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทางได้Active และ Passive Portsสิ่งสุดท้ายที่จะต้องกล่าวถึงเกี่ยวกับ Port ก็คือ ความแตกต่างระหว่าง Active และ Passive Portในการใช้การติดต่อด้วย TCP สามารถกระทำได้ 2 วิธีคือ Passive และ Active Connection Passive connection คือ การติดต่อที่ Application process สั่งให้ TCP รอหมายเลข Port สำหรับการร้องขอการติดต่อจาก Source Host เมื่อ TCP ได้รับการร้องขอแล้วจึงทำการเลือกหมายเลข Port ให้ แต่ถ้าเป็นแบบ Active TCP ก็จะให้ Application process เป็นฝ่ายเลือกหมายเลข Port ให้เลย
ตัวอย่างโปรโตคอลในลำดับชั้นแอปพลิเคชั่น (Well - Known Prots)
Port number.....Service ...................Description
20 ........FTP(Data) .....File Transfer Protocol and Data Used for transferring files
21..FTP (Control) ..File Transfer Protocol and Control Used for transferring files
23..................TELNET ........... used to gain “remote control” over another Machine on the network
25..................SMTP .............Simple Mail Transfer Protocol, used for transferring e-mail between e-mail servers
69..................TFTP..............Trivial File Transfer Protocol, used for transferring Files without a secure login
80..............HTTP(World Wide Web) .....HyperText Transfer Protocol, use for transferring HTML (Web Pages)
110..POP3.Post Office Protocol, version3, used for transfening e-mail form and e-mail server to and e-mail client
119 ........NNTP ........Network News Transfer Protocol, used to transfer Usenet news group messages from a news server To a news reader program
137................... NETBIOS-NS ................Net BIOS Name Service, Used by Misrosoft Networking
138.................NETBIOS-DG.............NetBIOS Datagram Service,sed for transporting data by Microsoft Networking
139.........NETBIOS-SS....NetBIOS session Service,used by Microsoft Networking
161............SNMP..........Simple Network Management Protocol, used to monitor network devices remotely
443...............HTTPS .......................HyperText Transfe-Protocol, Secure

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552

การหาค่า Network ID,Broadcast และ IP Usage ของบริษัท CISCO (Datacomm)

/26 = 2*2 = 4 , 2*6= 64 (* ยกกำลัง)
.......เลขฐาน 2..........Network ID...........broad cast........IP Usage
0.....00000000.........0.........................63..................1-62
1.....00000001.........64.......................127.................65-126
2.....00000010.........128.....................191.................129-190
3.....00000011.........192.....................255.................193-254

/27 = 2*3 = 8 , 2*5= 32 (* ยกกำลัง)
.......เลขฐาน 2...........Network ID...........broad cast........IP Usage
0.....00000000.........0.........................31..................1-30
1.....00000001.........32.......................63..................33-62
2.....00000010.........64.......................95..................65-94
3.....00000011.........96.......................127.................97-126

4.....00000100.........128.....................159.................129-158
5.....00000101.........160.....................191.................161-190
6.....00000110.........192.....................223.................193-222
7.....00000111.........224.....................225.................225-254

/28 = 2*4=16, 2*4=16 (* ยกกำลัง)
.......เลขฐาน2............Network ID...........broad cast........IP Usage
0.....00000000.........0........................15...................1-14 1.....00000001.........16.......................31..................17-30 2.....00000010.........32.......................63..................33-62
3.....00000011.........64.......................79..................65-78 4.....00000100.........80.......................95..................81-94
5.....00000101.........96.......................127................97-126
6.....00000110.........128.....................159................129-158
7.....00000111.........160.....................191................160-190
8.....00001000.........192.....................207................193-206
9.....00001001.........208.....................223................209-222
10...00001010.........224.....................239................225-238
11...00001011.........240.....................255................241-254
12...00001100.........256.....................271................257-270
13...00001101.........272.....................287................273-286
14...00001110.........288.....................303................289-302
15...00001111.........304.....................319................305-318
16...00010000.........320.....................335................321-334

/29 = 2*5=32, 2*3=8 (* ยกกำลัง)
.......เลขฐาน2............Network ID..........broad cast.......IP Usage
0.....00000000.........0........................7..................1
-6
1.....00000001.........8.......................15.................9-14
2.....00000010.........16.....................23.................17-22
3.....00000011.........24.....................31.................25-30
4.....00000100.........32.....................39.................33-38
5.....00000101.........40.....................47.................41-46
6.....00000110.........48.....................55.................49-54
7.....00000111.........56.....................63.................57-62
8.....00001000.........64.....................71.................65-70
9.....00001001.........72.....................79.................73-78
10...00001010.........80.....................87................. 81-86
11...00001011.........88.....................95.................89-94
12...00001100.........96.....................103...............97-102
13...00001101........104....................111...............105-110
14...00001110........112....................119...............113-118
15...00001111........120....................127...............121-126
16...00010000........128....................135...............129-134
17...00010001........136....................143...............137-142
18...00010010........144....................151...............145-150
19...00010011........152....................159...............153-158
20...00010100........160....................167...............161-166
21...00010101........168....................175...............169-174
22...00010110........176....................183...............177-182
23...00010111........184....................191...............185-190
24...00011000........192....................199...............193-198
25...00011001........200....................207...............201-206
26...00011010........208....................215...............209-214
27...00011011........216....................223...............217-222
28...00011100........224....................231...............225-230
29...00011101........232....................239...............233-240
30...00011110........240....................247...............241-248
31...00011111........248....................255...............249-256

/30 = 2*6=64, 2*2=4 (* ยกกำลัง)

.......เลขฐาน2..........Network ID..........broad cast.......IP Usage
0.....00000000........0.......................3....................1-2
1.....00000001........4.......................7....................5-6
2.....00000010........8.......................11..................9-10
3.....00000011.......12......................15..................13-14
4.....00000100.......16......................19..................17-18
5.....00000101.......20......................23..................21-22
6.....00000110.......24......................27..................25-26
7.....00000111.......28......................31..................29-30
8.....00001000.......32......................35..................33-34
9.....00001001.......36......................39..................37-38
10...00001010.......40......................43..................41-42
11...00001011.......44......................47..................45-46
12...00001100.......48......................51..................49-50
13...00001101.......52......................55..................53-54
14...00001110.......56......................59..................57-58
15...00001111.......60......................63..................61-62
16...00010000.......64......................67..................65-66
17...00010001.......68......................71..................69-70
18...00010010.......72......................75..................73-74
19...00010011.......76......................79..................77-78
20...00010100.......80......................83..................81-82
21...00010101.......84......................87..................85-86
22...00010110.......88......................91..................89-90
23...00010111.......92......................95..................93-94
24...00011000.......96......................99..................97-98
25...00011001.......100....................103................101-102
26...00011010.......104....................107................105-106
27...00011011.......108....................111................109-110
28...00011100.......112....................115................113-114
29...00011101.......116....................119................117-118
30...00011110.......120....................123................121-122
31...00011111.......124....................127................125-126
32...00100000.......128....................131................129-130
33...00100001.......132....................135................133-134
34...00100010.......136....................139................137-138
35...00100011.......140....................143................141-142
36...00100100.......144....................147................145-146
37...00100101.......148....................151................149-150
38...00100110.......152....................155................153-154
39...00100111.......156....................159................157-158
40...00101000.......160....................163................161-162
41...00101001.......164....................167................165-166
42...00101010.......168....................171................169-170
43...00101011.......172....................175................173-174
44...00101100.......176....................179................177-178
45...00101101.......180....................183................181-182
46...00101110.......184....................187................185-186
47...00101111.......188....................191................189-190
48...00110000.......192....................195................193-194
49...00110001.......196....................199................197-198
50...00110010.......200....................203................201-202
51...00110011.......204....................207................205-206
52...00110100.......208....................211................209-210
53...00110101.......212....................215................213-214
54...00110110.......216....................219................217-218
55...00110111.......220....................223................221-222
56...00111000.......224....................227................225-226
57...00111001.......228....................231................229-230
58...00111010.......232....................235................233-234
59...00111011.......236....................239................237-238
60...00111100.......240....................243................241-242
61...00111101.......244....................247................245-246
62...00111110.......248....................251................249-250
63...00111111.......252....................255................253-254

ข้อสอบ (Datacomm)

บทที่ 2
โปรโตคอล มาตรฐานและรูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. ข้อใดให้ความหมายโปรโตคอล (Protocol)ที่ถูกต้องที่สุด
ก. การเพิ่มปริมาณและความเร็วของการสื่อสาร
ข. เซตของขั้นตอน หรือวิธีการสื่อสารข้อมูล
ค. ระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร
ง. ขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึงกฏระเบียบและข้อกำหนดต่างๆ.

2. โครงสร้างในการติดต่อสื่อสารของ ISO แบ่งออกเป็นกี่ชั้น
ก. 4 ชั้น
ข. 5 ชั้น
ค. 6 ชั้น
ง. 7 ชั้น.
3. องค์กร ISO (International Organization for Standard) ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นในปี ค.ศ.ใด
ก.1972
ข.1977.
ค.1984
ง.1985
4. องค์กรใดเป็นผู้สร้างมาตรฐาน OSI (Open Systems Interconnection Model) ขึ้นมา
ก. ISO.
ข. EIA
ค. IEE
ง. ANSI
5. ระดับเครือข่ายสื่อสาร (Network Layer ) ทำหน้าที่อย่างไร
ก. ระดับที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการรับ – ส่งข้อมูล และทำการแปลงการรับ – ส่งข้อมูลที่ไม่แน่นอนให้แน่นอนขึ้น
ข. การติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาแตกออกเป็นหน่วยย่อยตามความต้องการ แล้วส่งไปยังระดับเครือข่ายสื่อสาร
ค. การแปลงข้อมูลเพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เป็นฝ่ายรับสามารถเข้าใจ
ง. กำหนดเส้นทางการรับ – ส่งข้อมูล และตำแหน่งของสถานีปลายทางที่จะรับข้อมูล แล้วทำการส่งข้อมูลเข้าไปในเครือข่าย.
6. ข้อใดคือโปรโตคอลการบริการถ่ายโอนข้อมูล และการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ก. ISO 8572
ข. ISO 8832.
ค. ISO 8571
ง. ISO 9041
7. ข้อใดคือโปรโตคอลไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ และกักเก็บข่าวสาร
ก. CCITT X .400.
ข. CCITT X.25
ค. ISO 8802 (IEE 802)
ง. CCITT X.21
8. ข้อใดคือโปรโตคอลดิจิตอลอินเตอร์เฟสของ Physical
ก. CCITT X .400
ข. CCITT X.25
ค. CCITT X.21.
ง. ISO 8802 (IEE 802)
9. TCP (Transmission Control Protocol ) เป็นการบริการแบบใด
ก. Connection Message Service
ข. Connection Information Service
ค. Connection Service
ง. Connection Based Service.
10. โปรโตคอล CSMA/CD มีกี่ชนิด
ก. 2 ชนิด
ข. 3 ชนิด.
ค. 4 ชนิด

ง. 5 ชนิด

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2552

การหา Network ID

ชุดที่ 1

192.168.2.10/27
IP................11000000.10101000.00000010.00001010.
subnet mask 11111111.11111111.11111111.11100000
AND.............11000000.10101000.00000010.00000000
ฐาน10...........192.168.2.0

192.168.5.10/27
IP................11000000.10101000.00000101.00001010.
subnet mask 11111111.11111111.11111111.11100000
AND.............11000000.10101000.00000101.00000000
ฐาน10...........192.168.5.0


ดังนั้น ไม่ใช่ NetworkID เดียวกัน

ชุดที่ 2

10.2.100.8/14
IP................00001010.00000010.01100100.00001000
Subnet mask 11111111.11111100.00000000.00000000
AND.............00001010.00000000.00000000.00000000
ฐาน10...........10.0.0.0

10.3.150.9/14
IP................00001010.00000011.10010110.00001001
Subnet mask 11111111.11111100.00000000.00000000
AND.............00001010.00000000.00000000.00000000
ฐาน10...........10.0.0.0

ดังนั้น เป็น NetworkID เดียวกัน




วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบ Network

ตอนที่1 ข้อสอบอัตนัยเรี่อง Network Introduction,Ip address,Ascii

จงอธิบายให้ชัดเจน ตรงคำถาม และให้สมบูรณ์ที่สุด

1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร (5 คะแนน)
ตอบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล

2. จงบอกหน้าที่และโครงสร้างของ OSILAYER (10 คะแนน)
ตอบ โครงสร้างOSI LAYER มีระดับชั้นของการสื่อสารข้อมูล 7 ชั้น เพื่อใช้เป็นมาตฐานในการสื่อสารข้อมูลต่างยี่ห้อกันได้โดยตั้งชื่อของมาตรฐานนี่ว่าระบบเปิด หรือOSI :Open System interconnection โดยมีระดับชั้นของการสื่อสารข้อมูล 7 ชั้น ดังนี้
1. ระดับกายภาพ Physical Layer เป็นการทำงานทางกายภาพของระบบเชื่อมต่อ ทั้งในส่วนของสัญญาณทาสงไฟฟ้า ระบบสายสัญญาณ(cable)และตัวเชื่อม(connector)
2 .ระดับการเชื่อมโยงข้อมูล Data link layer รับผิดชอบการนจำข้อมูลเข้าและออกจากตัวกลาง การจัดเฟรม การตรวจสอบและการจัดการข้อผิดพลาดของข้อมูลโดยจะมีการแบ่งออกเป็น2ชั้นย่อยคือ LIC(Logical Link Control)จะอยู่ในครึ่งบน รับผิดชอบในเรื่องการตรวจสอบข้อผิดพลาดและ MAC(Media Access control)อยู่ในครึ่งล่าง เป็นส่วนของวิธีส่งข้อมูลผ่านสื่อกลาง
3. ระดับเครื่อข่ายข้อมูล Network layer จะทำการตรวจสอบการส่งผ่านข้อมูลผ่านเครือข่าย เช่น เวลาที่ใช้ในการส่ง การส่งต่อ การจัดลำดับของข้อมูล
4. ระดับการขนส่งข้อมูล Transport layer Transport Layer จะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง 2 Layer คือ Application - Oriented Layer ซึ่งอยู่เหนือกว่า Network - Dependent Protocol Layer ซึ่งอยู่ต่ำกว่า Transport Layer มีหน้าที่ในการเตรียมข้อความต่าง ๆ ในการสื่อสารแบบ Session Layer บริการของ Transport Layer จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ o Class 0 จะให้บริการคำสั่งพื้นฐานในการสื่อสารข้อมูล o Class 4 จะให้บริการเกี่ยวกับคำสั่งในการควบคุมการไหล ของข้อมูล และคำสั่งในการตรวจสอบข้อผิดพลาดต่าง ๆ
5. ระดับการโต้ตอบระหว่างกัน Session layer รับผิดชอบการควบคุมการติดต่อและการประสานของข้อมูลที่ส่งผ่านระบบเครือข่าย เช่น การตรวจสอบลำดับก่อนหลังที่ถูกต้องของ Pocket เป็นต้น
6. ระดับการแสดงผล Presentation layer เป็นการทำงานของระบบรักษาความลับและการเปลี่ยนแปลงข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ ให้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้
7. ระดับการประยุกต์ใช้งานApplication layer เป็นการทำงานของซอฟแวร์ประยุกต์ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบเครือข่าย เช่น การส่งผ่านแฟ้มข้อมูล การจำลอง terminal การแลกเปลี่ยนข้อมูล

3. Topology คืออะไร จงบอกข้อดีข้อเสียของ topology แต่ละชนิด (10 คะแนน)
ตอบ โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้ -โทโปโลยีรูปดาว(Star) เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR) หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาว หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย ข้อดี ของเครือข่ายแบบ STAR คือการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสารในเครือข่ายได้ ข้อเสีย ของเครือข่ายแบบ STAR คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางมีราคาแพง และถ้าศูนย์กลางเกิดความเสียหายจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้เลย นอกจากนี้เครือข่ายแบบ STAR ยังใช้สายสื่อสารมากกว่าแบบ BUS และ แบบ RING -โทโปโลยีแบบบัส (Bus) ลักษณะการทำงานของเครือข่ายโทโปโลยีแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า "บัส" (BUS)เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของผู้ส่งและผู้รับ และข้อมูล การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณ เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เป็นการป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัส ข้อเสีย อย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบ BUS คือการไหลของข้อมูลที่เป็น 2 ทิศทางทำให้ระบุจุดที่เกิดความเสียหายในบัสยาก และโหนดที่ถัดต่อไปจากจุดที่เกิดความเสียหายจนถึงปลายของบัสจะไม่สามารถทำการสื่อสารข้อมูลได้ แต่โหนดที่อยู่ก่อนหน้าจุดเสียหายจะยังคงสื่อสารข้อมูลได้ -โทโปโลยีรูปวงแหวน (Ring) เครือข่ายแบบ RING เป็นการสื่อสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน หรือ RING นั่นเอง ข้อดี ของเครือข่ายแบบ RING คือผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ โหนดพร้อมกัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะทำการตรวจสอบเอง ว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่ การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากโหนดสู่โหนด จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล ข้อเสีย คือ ถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสารได้ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละโหนด เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ รีพีตเตอร์จะต้องทำการคัดลอกข้อมูล และตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูล อีกทั้งการติดตั้งเครือข่ายแบบ RING ก็ทำได้ยากกว่าแบบ BUS และใช้สายสื่อสารมากกว่า

4. จงอธิบายความหมายและรายละเอียดของ (10 คะแนน)
* 10 base5
ตอบ 10 base5 หมายถึงระบบเครือข่ายที่มีความเร็ว 10 Mbps BASE หมายถึงการรับ-ส่งข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบของ Baseband ส่วน 5 หมายถึงความยาวของสายสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูล 500 เมตร ซึ่งสายสัญญาณที่ใช้ในเครือข่าย 10Base5 นี้ได้แก่สาย Coaxial อย่างหนา อุปกรณ์ที่ใช้ใน 10Base5 ต่อไปนี้เป็นชุดของอุปกรณ์ที่ใช้ส่งสัญญาณสำหรับเครือข่าย 10Base5 • Network Interface Card (NIC) หรือ LAN Card พร้อมด้วย Connector ที่เรียกว่า AUI Connector ขนาด 15 Pin • สายที่ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ Transceiver หรือที่เรียกว่าสาย AUI ที่ได้มาตรฐาน IEEE • อุปกรณ์ 10Base5 Transceiver หรือที่เรียกว่า MAU อุปกรณ์นี้ใช้เชื่อมต่อกับสายสัญญาณรับส่งข้อมูล และต้องทำงานภายใต้มาตรฐาน IEEE • 10Base5 Repeater พร้อมด้วย AUI Port ขนาด 15 Pin Network Interface Card (NIC) Ethernet NIC เป็น Card ที่ประกอบด้วยชุดของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าที่การทำงานหลายอย่างที่สำคัญบนเครือข่าย Ethernet ประกอบด้วยหน้าที่การทำงาน ดังต่อไปนี้ • จัดสร้าง Frame ของข้อมูลขึ้น รวมทั้งเอาข้อมูลไปไว้ใน Frame • ตรวจสอบสายสัญญาณเพื่อดูว่า มีใครใช้สายอยู่หรือไม่ (สำหรับ 10Base-2) • ตรวจสอบการชนกันของสัญญาณบนเครือข่าย (สำหรับ 10Base-2)
* 10baesT
ตอบ 10baesT 10 หมายถึง 10Mbps ส่วน T หมายถึง Twisted Pair ลักษณะนี้แสดงว่าเป็นระบบเครือข่ายEthernet ที่ใช้สายTwisted Pair เป็นสื่อในการส่งสัญญาณการเชื่อมต่อแบบ 10BaseT นั้นเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากติดตั้งได้ง่าย และดูแลรักษาง่าย ความจริง 10BaseT ไม่ได้เป็น Ethernet โดยแท้ แต่เป็นการผสมระหว่าง Ethernet และ Tolopogy แบบ Star สายที่ใช้ก็จะเป็น สาย UTP และมีอุปกรณ์ตัวกลางเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายที่มาจากเครื่อง ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย อุปกรณ์ตัวกลางนี้เรียกว่า HUB ซึ่งจะคอยรับสัญญาณระหว่าง เครื่อง Client กับเครื่อง Server ในกรณีที่มีสายจากเครื่อง Client ใดเกิดเสียหรือมีปัญหา สัญญาณไฟที่ปรากฏอยู่บน Hub จะดับลง ทำให้เราทราบได้ว่า เครื่อง Client ใดมีปัญหา และปัญหาที่เกิดขึ้น จะไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อระบบ Network เลย แต่ระบบนี้จะต้องทำการดูแลรักษา Hub ให้เป็นอย่างดี เนื่องจาก Hub มีปัญหา จะส่งผลกระทบ ทำให้ระบบหยุดชะงักลงทันที การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายในลักษณะ 10BaseT นั้น เครื่องทุกเครื่องจะต้องเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ HUB โดยใช้สาย UTP ซึ่งเข้าหัวต่อเป็น RJ45 เสียบเข้ากับ HUB และ Card Lan ซึ่งจะเห็นว่า เครือข่ายแบบ 10BaseT นี้จะใช้อุปกรณ์ไม่กี่อย่าง ซึ่งต่างกับระบบเครือข่าย 10Base2 แต่อุปกรณ์ของ 10BaseT นั้นจะแพงกว่า
*10baesTX
ตอบ 10baesTX ถูกออกแบบมาบนพื้นฐานของมาตรฐาน TP-PMD(ANSI Develope Copper FDDI Physical Layer Dependent Sublayer Technology)มีคุณลักษณะการทำงานดังนี้ SEGMENT LENGTH: หรือขนาดความยาวสายของแต่ละ Segment ถ้าหากใช้สาย UTP ACAT-5 แบบ 2 PAIR จะได้ความยาวที่ 100 เมตร ภายใต้มาตรฐาน EIA/TIA 568 UTP ซึ่งเป็นมาตรฐานการเดินสายโดยมีคู่สายแรกใช้เพื่อ ส่งข้อมูล ส่วนอีกหนึ่งคู่สายสำหรับรับข้อมูล ชนิดของสายสัญญาณ : ความถี่ทางไฟฟ้าของ 10baesT คือ 20 MHZ ส่วนความถี่ทางไฟฟ้าสำหรับ10baesTX อยู่ที่ 125 MHZ แต่เนื่องจากมรการใช้วิธีการทาง MULITI-LEVEL TRANSMISSION-3 (MLT-3) WAVE Shapingเพื่อลดสัญญาณความถี่จาก125MHZ ลงมาเหลือ 41.6 MHZ ทำให้สามารถใช้ CAT-5UTP ได้สบาย นอกจากนี้ยังสามารถใช้สาย STP มาตรฐาน IBM TYPE 1 และ DB-9 Connector Connectors ที่ใช้ : เช่นเดียวกับ 10baesT คือ RJ-45
*100baesFX
ตอบ 100baesFX ถูกออกแบบให้ใช้กับงานที่ต้องใช้สาย Fiber Optic หรือระบบ FDDI Techologyb สำหรับรับส่งข้อมูลผ่าน Back Bone ความเร็วสูงหรือเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้ยาวกว่าเดิม10baesFX คล้ายกันกับ 10baesTX ตรงที่มีการยืมเอามาตฐานทางด้าน Physical Layer 0าก ANSI X3T9.5 FDDI Physical LayerMedia Dependent(FIBER PMD) โดยมีการประยุกต์ใช้งานสาย Fiber Opticแบบ Multimode ขนาด 2-STRAND (62.5/125 nm) ขาดของความยาวสูงสุดของสาย fiber ที่ใช้เชื่อมต่อสามารถแปรผันได้
* 10baesT4
ตอบ 10baesT4 เป็นมาตรฐานใหม่ของ PHY ขณะที่ 10baesTX และ FX ทำงานบนพื้นฐานของเทคโนโลยี FDDI 10baesT4 ใช้ UTP Category3 10baesT4 ที่ใช้สาย UTP 4 Pair ที่ใช้กับ Voyce Drade CAT 3 ก็เพียงพอ 10baesT4 ใช้สาย PAIR ครบทั้ง 4 คู่ โดยมี 3 PAIR ใช้ในการส่งข้อมูลขณะที่คู่ที่ 4 ใช้เพื่อเป็นช่องรับเพื่อตรวจสอบ collision 10baesT4 ไม่เหมือนกับ10baesT และ 10baesTX ตรงที่ไมีมีการกำหนดแน่ชัดว่าสาย PAIR คู่ไหนใช้รับส่งข้อมูล ด้วยเหตุนี้จึงรับส่งข้อมูลแบบ full-duplex ไม่ได้ 10baesT4 ใช้ RJ-45 Connector 8 ขา ความยาวสูงสุดของ segment สำหรับ 10baesT4 คือ 100m และได้มาตรฐานการเดินสาย ELA-568 10baesT4 ใช้วิธีการเข้ารหัสแบบ 2b/6t ซึ่งทำงานได้ดีกว่า Manchester Encoding

5. IP private network คืออะไร มีหมายเลขใดบ้างที่อนุญาตให้ใช้งานได้ (5 คะแนน)
ตอบ Private Network คือ เน็ตเวิร์กส่วนตัว ซึ่งถูกแบ่งแยกออกมาจาก Public Network ตัว Public Network หรือที่เรียกว่า Internet หรืออภิมหาเครือข่าย ซึ่งต่อโยงเป็นใยกันไปทั่วโลกนั้นเองโดยปกติการต่อโยงของคอมพิวเตอร์ใน Public Network นั้นใช้โพรโตคอล TCP/IP ซึ่งเป็น Unique คือ เป็นกฎตายตัวว่าอุปกรณ์เครือข่าย (Network Device) แต่ละตัว ต้องมีเลข IP ที่ไม่ซ้ำกัน ถ้าซ้ำกันก็จะใช้งานไม่ได้เลย การเติบโตของกลุ่มเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) ทำให้ต้องมีการกำหนด IP Address เฉพาะ ซึ่งเป็นข้อตกลงสากลที่กลุ่มเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) สามารถนำเลข IP เหล่านี้ไปใช้ได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะซ้ำกับใคร

6. จงแปลงค่า ip address ต่อไปนี้ให้เป็น binary 32 bit (15 คะแนน)
50.60.89.125 ตอบ = 00110010.00111100.01011001.01111101
100.25.99.242 ตอบ = 01100100.00011001.01100011.11110010
85.22.75.5 ตอบ = 01010101.00010110.01001011.00000101
205.35.44.65 ตอบ = 11001101.00100011.00101100.01000001
200.29.30 ตอบ = 11001000.00011101.00000011.00000000

7. จาก CIDR ต่อไปนี้จงแสดงหมายเลข subnet mask พร้อมแสดง binary 32 bit (10 คะแนน)

/18 ตอบ = 11111111.11111111.11000000.00000000

/20 ตอบ = 11111111.11111111.11110000.00000000

/25 ตอบ = 11111111.11111111.11111111.10000000

/28 ตอบ = 11111111.11111111.11111111.11110000

/15 ตอบ = 11111111.11111110.00000000.00000000

8. IP address Class B และ C จากบิตที่ถูก mark เข้ามา ต่อไปนี้จงแสดงวิธีคำนวณ จำนวน subnet และ จำนวน hosts ต่อ subnt พร้อมทั้งแสดงคำตอบเป็นหมายเลข subnet mask และบอกจำนวน CIDR (20 คะแนน)

11111111.11111111.11111111.11100000 ตอบ hosts = 62 subnet = 6 subnet mask 255.255.255.224 CIDR = /27

11111111.11111111.11111111.11110000 ตอบ hosts = 14 subnet = 14 subnet mask 255.255.255.240 CIDR = /28

11111111.11111111.11111111.11111100 ตอบ hosts = 6 subnet = 62 subnet mask 255.255.255.252 CIDR = /30

11111111.11111111.11111000.00000000 ตอบ hosts = 2046 subnet = 30 subnet mask 255.255.248.0 CIDR = /21

11111111.11111111.11111110.00000000 ตอบ hosts = 510 subnet = 126 subnet mask 255.255.254.0 CIDR = /23

9.จงบอกรายละเอียดเกี่ยวกับ IP Adderss ให้ครอบคลุมและเข้าใจ (5 คะแนน)

ตอบ IP Address เปรียบเสมือน หมายเลขโทรศัพท์ ประจำบ้าน ของเครื่อง Computer ที่อยู่ใน Network แบบ TCP/IP (ซึ่งใช้กันแพร่หลายมากที่สุดในขณะนี้ รวมถึง Internet ด้วย) IP Address สำหรับเครื่องแต่ละเครื่องจะต้องไม่มีการซ้ำกัน ไม่เช่นนั้นการส่งข้อความอาจจะเกิดความผิดพลาดได้ เพราะข้อมูลที่รับส่งใน Network นั้นเปรียบเสมือน การพูดคุยทางโทรศัพท์ ระหว่าง เบอร์สองเบอร์ เครื่อง Computer ทุกๆเครื่องใน Network แบบ TCP/IP นั้นจะต้องมี IP Address ประจำตัวเสมอ ไม่มีไม่ได้ IPAddress ของแต่ละเครื่องเราสามารถ Set ได้เอง IP Address จะมีรูปแบบ

10. จงแสดงรหัส Ascii คำว่า "IaMa GiRI" (10 คะแนน)

ตอบ 73 97 77 97 32 71 105 82 73

ข้อสอบกลางภาควิชา การจัดการระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูล (3562104) 3/47

1. Protocal UDP ทำงานอยู่ Layes ใด

ก. 1

ข. 2

ค. 3

ง. 4.

2. Protocal IP ทำงานอยู่ Layes ใด

ก. 1

ข. 2

ค. 3.

ง. 4

3. 255.255.255.0 เป็น SubnetMask Default ของ Class ใด

ก. Claass A

ข. Claass B

ค. Claass C.

ง. Claass D

4. ข้อใดคืออักษร Z

ก. 0101101

ข. 10100111

ค. 01001010

ง. 01011010.

5. ข้อใดคืออักษร P

ก. 4B

ข. 4C

ค. 50.

ง. 54

6. ค่าเริ่มต้นของ a คือ

ก. 41

ข. 51

ค. 61.

ง. 91

7. ข้อใดคืออักษร d

ก. 64.

ข. 65

ค. 66

ง. 67

8. Topology ที่เป็น 10baseT ใช้การเชื่อมต่อแบบ

ก. BUS

ข. STAR.

ค. RING

ง. TREE

9. ในระบบ Ethernet IEEE802.3 ใช้ Protocal ใน Layer ที่ 2 คือ Protocal ใด

ก. TCP (Tranmission Prot)

ข. IP (Internet protocal)

ค. CSMA/CA

ง. CSMA/CD.

10. Port 21 ใช้กับ Application (โปรแกรม) ใด

ก. Talnet

ข. HTTP

ค. FTP.

ง. Rlogin

11. Port 80 ใช้กับ Application (โปรแกรม) ใด

ก. Talnet

ข. HTTP.

ค. FTP

ง. Rlogin

12. Port 23 ใช้กับ Application (โปรแกรม) ใด

ก. Talnet.

ข. HTTP

ค. FTP

ง. Rlogin

13. ทิศทางการสื่อสารข้อมูลที่สามารถส่งได้ทั่งไปและกลับพร้อมกันคือข้อใด

ก. Full Duplex.

ข. Half DuPlex

ค. Simplex

ง. ถูกทุกข้อ

14. สื่อสัญญาณชนิดใดที่มีราคาถูกที่สุด

ก. UTP.

ข. Coaxial

ค. Fiber Optic

ง. ถูกทุกข้อ

15. จากข้อ 14 สื่อสัญญาณชนิดใดที่เกิดการรบกวนจากสภาพภูมิอากาศแล้วมีผลกระทบมากที่สุด

ก. UTP.

ข. Coaxial

ค. Fiber Optic

ง. ถูกทุกข้อ

16. โครงข่ายแบบ แพคเกตสวิตซ์ (Packet Switch) ใช้กับเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลข้อใด

ก. โทรศัพท์เคลื่อนที่

ข. โทรศัพท์สาธารณะ

ค. โทรเลข

ง. อินเตอร์เน็ต.

17. CSMA/CA ทำงานอยู่ที่ Layer ใดของ OSI Model

ก. 1

ข. 2.

ค. 3

ง. 4

18. CSMA/CD ทำงานอยู่ที่ Layer ใดของ OSI Model

ก. 1

ข. 2.

ค. 3

ง. 4

19. ไอพีเวอร์ชั่น 6 (IPV6) มีกี่บิต

ก. 16

ข. 32

ค. 64

ง. 128.

20. ไอพีเวอร์ชั่น 4 (IPV4) มีกี่บิต

ก. 16

ข. 32.

ค. 64

ง. 128

21. ค่าเริ่มต้นของ IPV4 Class C เริ่มจาก

ก. 191-233

ข. 192-233.

ค. 191-223

ง. 192-223

22.บิตเริ่มต้นของ IP Class B คือ

ก. 0

ข. 10.

ค.110

ง. 1110

23. บิตเริ่มต้นของ IP Class C คือ

ก. 0

ข. 10.

ค.110

ง. 1110

24. 192.168.0.0/27 มี subnet mask เท่าใด

ก. 255.255.255.0

ข. 255.255.255.240

ค. 255.255.255.224.

ง. 255.255.255.248

25. ใครเป็นคนสร้างมาตรฐาน OSI Model ขึ้นมา

ก. IEEE

ข. RFC

ค. ISO.

ง. CCITT

26. เครือข่ายแบบใดใช้สาย Coaxial

ก. Bus.

ข.Star

ค. Ring

ง. Mesh

27. บลูธูท (Bluetooth) จัดเป็นเทคโนโลยีใช้ในเครือข่ายแบบใด

ก. WAN

ข. MAN

ค. LAN

ง. PAN.

28. 255.255.254.0 มี CIDR เท่าใด

ก. /23.

ข. /24

ค. /25

ง. /26

29. 255.255.255.0 จาก Subnet ที่กำหนดให้ สามารถรองรับ Host ได้กี่ Host

ก. 126 Host

ข. 250 Host

ค. 254 Host.

ง. 255 Host

30. 255.255.255.128 จากSubnet ที่กำหนดให้ สามารถรองรับ Host ได้กี่ Host

ก. 124 Host

ข. 126 Host

ค. 1022 Host.

ง. 2046 Host

31. 11111111.11111111.11111111.11000000 จาก Binary Bit ที่กำหนดให้ รองรับได้กี่ Subnet

ก. 2 Subnet

ข. 4 Subnet.

ค. 6 Subnet

ง. 8 Subnet

32. 11111111.11111111.11111111.11100000 จาก Binary Bit ที่กำหนดให้ รองรับได้กี่ Host

ก. 6 Host

ข. 14 Host

ค. 30 Host.

ง. 62 Host

33. 11111111.11111111.11111111.11110000 จาก Binary Bit ที่กำหนดให้ รองรับได้กี่ Host

ก. 6 Host

ข. 14 Host.

ค. 30 Host

ง. 62 Host

34. IP Address Class A มีกี่เปอร์(%) ของ IP ทั่วโลก

ก. 12.5 %

ข. 25 %

ค. 45 %ง

ง. 50 %.

35. หมายเลข NET และHOST ที่ถูกต้องของ Class C

ก. N.N.N.H.

ข. N.N.H.H

ค. H.H.H.N

ง. H.H.N.N

36. 192.168.0.0/24 จะได้ค่า Subet Mask ค่าใด

ก. 255.255.254.0

ข. 255.255.255.0.

ค. 255.255.255.192

ง. 255.255.255.248

37. IP Private Network Class A คือข้อใด

ก. 192.168.0.0

ข. 127.0.0.1

ค. 172.16.0.0.

ง. 10.0.0.0

38. OSI มีกี่ Layer

ก. 5 Layer

ข. 6 Layer

ค. 7 Layer.

ง. 8 Layer

39. Layer บนสุดเรียกว่า

ก. Physical Layer

ข. Datalink Layer

ค. Pressentation Layer

ง. Application Layer.

40. . IP Address ทำงานอยู่ที่ Layer ใด

ก. Layer 1

ข. Layer 2

ค. Layer 3.

ง. Layer 4

ตอนที่ 2 1. จงแสดงวิธีทำการแปลค่าไอพีแอสเดรสที่กำหนดให้ต่อไปนี้เป็น Binary ( ฐาน 2)

1. 205.102.100.55. (5 คะแนน)

ตอบ 11001101.01100110.01100100.00110111

2. 68.99.56.60. (5 คะแนน)

ตอบ 01000101.01100011.0011100.00111100

3. 39.200.109.109. (5 คะแนน)

ตอบ 00100111.11001000.01101101.01101101

4. 22.165.10.0 (5 คะแนน)

ตอบ 00010110.10100101.000001010.0

5. 111.11.25.2 (5 คะแนน)

ตอบ 01101111.00001011.00011001.00000010

2. แสดงการคำนวน หมายเลข Subnet mask จาก CIDR ที่กำหนดให้ต่อไปนี้

1. /14 ( 3 คะแนน)

ตอบ 255.252.0.0

2. /20 ( 3 คะแนน)

ตอบ 255.255.240.0

3. /22 ( 3 คะแนน)

ตอบ 255.255.255.252.0

4. /25 ( 3 คะแนน)

ตอบ 255.255.255.128

5. /29 ( 3 คะแนน)

ตอบ 255.255.255.248

3. จงแสดงวิธีคำนวน Subnet และจำนวน host จาก bit ที่ mask เข้ามาดังนี้

1. Class A, mask เข้ามา 4 บิต ( 3 คะแนน)

ตอบ 11111111.11110000.00000000.00000000 Subnet = 14 host= 1048574

2.Class B, mask เข้ามา 4 บิต ( 3 คะแนน)

ตอบ 11111111.11111111.11111100.00000000 Subnet = 34 host= 1022

3.Class C, mask เข้ามา 4 บิต ( 3 คะแนน)

ตอบ 11111111.11111111.11111111.11100000 Subnet = 6 host= 30

4. จงวาดรูปโครงสร้างของ OSI model พร้อมอธิบายหน้าที่การทำงานของแต่ละ Layer (10 คะแนน)


1. Physical Layer เป็นชั้นล่างสุดที่ว่าด้วยการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ การกำหนดคุณทางกายภาพของสื่อประเภทต่าง ๆ ที่ใช้การรับส่งข้อมูล เช่น ใช้สายสัญญาณแบบไหน มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่าไร เป็นต้น ข้อมูลที่รับส่งในชั้นนี้จะเป็นข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะเห็นเป็นทีละบิตเรียงต่อกันไปในลักษณะของ ‘0’ หรือ ‘1’
2. Data Link Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการรวบกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นชุดที่เรียกว่า “เฟรม” (Frame) เพื่อเตรียมส่งออกทางเครือข่ายโดยผ่ายทาง Physical Layer นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาดของข้อมูลที่มาจากระดับของ Physical Layer
3. Network Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการแยกแยะความแตกต่างของคอมพิวเตอร์แต่ละตัวในเครือข่ายโดยอาศัยโดยอาศัยหมายเลขประจำเครื่องหรือ Address และยังกำหนดเส้นทางในการวิ่งของข้อมูลในเครือข่ายจากต้นทางถึงปลายทาง ข้อมูลในชั้นนี้จะเรียกว่า “แพ็กเก็ต” (Packet)
4. Transport Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการแบ่งข้อมูลที่ได้รับมาจาก Session Layer ที่โดยมากจะมีขนาดใหญ่ให้กลายเป็นแพ็กเก็ตที่มีขนาดคงที่ก่อนจะส่งต่อให้ Network Layer ส่วนในแง่ของการรับข้อมูล Transport Layer จะทำการต่อคืนแพ็กเก็ตต่าง ๆ ที่ได้รับให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดั้งเดิม นอกจากนี้ยังมีการจัดการเกี่ยวกับแพ็กเก็ตอื่น ๆ อีก เช่น การตรวจสอบและแก้ไขข้อผิดพลาด การจัดลำดับและการควบคุมความเร็วในการรับส่ง
5. Session Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยวิธีการจับคู่หรือเชื่อมโยงแอพพลิเคชั่นที่อยู่ต่างเครื่องกัน เพื่อให้สามารถแยกแยะได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมาควรจะเป็นของแอพพลิเคชั่นคู่ไหนได้ ทำให้เราสามารถเรียกใช้โปรแกรมสำหรับการสื่อสารพร้อมกันหลายตัวได้ เช่น เราสามารถเปิดโปรแกรมบราวเซอร์ พร้อมกับอ่านอีเมล์ได้พร้อม ๆ กัน
6. Presentation Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการจัดรูปแบบข้อมูลที่รับมาจาก Session layer ให้อยู่ในรูปแบบที่แอพพลิเคชั่นแต่ละตัวสามารถเข้าใจได้
7. Application Layer เป็นชั้นที่ว่าด้วยการติดต่อกับแอพพลิเคชั่นหรือโปรแกรมต่าง ๆ เช่น บราวเซอร์ อีเมล์ FTP และ Telnet เป็นต้น

โจทย์ จงเลือกคำตอบ A-N จากคอลัมน์ตัวเลือกมาเติมลงในคอลัมคำตอบให้ถูกต้อง (10 คะแนน)โจทย์:จงกาเครื่องหมาย ลงหน้าข้อที่ถูกและเครื่องหมาย ลงหน้าข้อที่ผิด

_______ 1. IPAdress ClassAมีhost สูงสุด 16,777,216-2 host

_______ 2.Subnet mask Defualt Class B=255.255.192.0

_______ 3.การตรวจสอบ Subnet เดียวกันจะใช้วิธี XOR

_______ 4.การต่อสาย UTP แบบไขว้ใช้สำหรับการต่อแบบคอมพิวเตอร์ไปยังคอมพิวเตอร์

_______ 5.CIDR /24 จะสามราถ Broadcast host ได้ถึง 254 host

_______ 6. IEEE802.11คือเครือข่าย WMAN

_______ 7. IPAdress ทำงานอยู่ที่ Leyer 4 ของ OSI Model

_______ 8. เครือข่าย Internetเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เครือข่ายแบบ Curcuit Switch

_______ 9. Leyer ที่ 3ของ OSI มี Router ทำงานอยู่

_______ 10.Fast Ethernet มีความเร็ว 1000 mbps

เฉลย

1. ถูก

2. ผิด

3. ผิด

4. ถูก

5. ถูก

6. ถูก

7. ผิด

8. ถูก

9. ถูก

10.ถูก

โจทย์:จงเลือกคำตอบ A-N จากคอลัมน์ตัวเลือกมาเติมลงในคอลัมคำตอบให้ถูกต้อง

_______ 1. CLASS A

_______ 2.CLASSS B

_______ 3. CLASS C

_______ 4. 10 BASE2

_______ 5. 100BASET

_______ 6. 1110

_______ 7. WLAN

_______ 8.Ethernet

_______ 9. 128 Bit

_______ 10. 2*8

ตัวเลือก

A โครงข่ายแบบ Message Swtch

B STAR

C RING

D CSMA

E CSMA/CD

F CSMA/CA

G 212.25.0.0

H FIBER

I 192.168.1.0

J Thick Coax

K 25.254.2.120

L IPV6

M 256

N 254

O Start Bit Class C

เฉลย

1 K

2 I

3 G

4 H

5

6

7 F

8 E

9

10 N